fbpx

สาเหตุของกลิ่นปาก ฟันผุ และร้อนใน! ใครที่มีปัญหากลิ่นปาก ฟันผุง่าย และเป็นร้อนในบ่อย ๆ ต้องรีบเช็กด่วน! เพราะเราอาจเสี่ยงเป็น “ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย” เข้าให้แล้ว!

เคยสังเกตตัวเองกันไหมคะ ว่าทำไมเราถึงมีกลิ่นปาก และฟันผุง่าย ทั้ง ๆ ที่ทำความสะอาดช่องปากเป็นอย่างดี นั่นเพราะเราอาจเป็น “ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย” เข้าให้แล้ว! บอกเลยว่าภาวะนี้นอกจากจะทำให้เราปากเหม็น ฟันผุ ยังทำให้เราเป็นร้อนในบ่อยอีกด้วย หนักใจสุด ๆ เลยใช่ไหมคะ วันนี้เลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักภาวะนี้กันว่ามันคืออะไร มีสาเหตุ อาการ วิธีการป้องกัน และวิธีดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

“ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย” คืออะไร ?

ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย (Xerostomia) คือ ภาวะที่ต่อมน้ำลายในช่องปากไม่สามารถผลิตน้ำลายออกมาได้ตามปกติ ทำให้มีอาการปากแห้ง คอแห้ง หรือกระหายน้ำ มักเกิดจากภาวะขาดน้ำ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด การรักษาด้วยการฉายรังสี หรืออายุที่เพิ่มขึ้น

มารู้จักข้อดีของ ‘น้ำลาย’ กันสักนิด น้ำลาย เป็นสารคัดหลั่งที่สร้างจากต่อมน้ำลาย และขับเข้าไปในช่องปากทางท่อน้ำลาย มีบทบาทสำคัญที่ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยหล่อลื่นอวัยวะในช่องปาก ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง ช่วยในการเคลื่อนไหวของลิ้น และมีความสามารถในรักษาสมดุลในช่องปากและผิวฟัน นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการต้านจุลชีพในช่องปาก และระบบทางเดินอาหารอีกด้วย เห็นไหมคะว่าน้ำลายนั้นมีความสำคัญกับช่องปากของเราสุด ๆ

สาเหตุของการเกิดภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย
  • ผลข้างเคียงจากโรคประจำตัว : ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรควิตกกังวล 
  • การใช้ยาบางชนิด : โดยยาที่มักทำให้เกิดอาการนี้ ได้แก่ ยารักษาโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาแก้แพ้ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด และยาลดน้ำมูก 
  • อายุที่เพิ่มขึ้น : เพราะเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ต่อมน้ำลายจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และเมื่อร่วมกับการกินยาเพื่อรักษาโรคประจำตัวบางชนิด จะยิ่งทำให้ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยมีความรุนแรงมากขึ้น
  • การรักษาโรคมะเร็ง : การฉายรังสีหรือทำเคมีบำบัดอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำลาย โดยเฉพาะการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอ
  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ : คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักมีอาการปากแห้งได้บ่อย และรุนแรงกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
  • ภาวะขาดน้ำ : อาจเกิดจากการเจ็บป่วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ หรือสไตล์การใช้ชีวิต เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือเสียเหงื่อมาก ๆ เป็นต้น
อาการของภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย

มาดูกันหน่อยดีกว่าว่าอาการของภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยมีอาการอะไรบ้าง

  • รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
  • น้ำลายเหนียว ข้น
  • เจ็บภายในปาก แสบลิ้น ลิ้นแห้ง แดง ไม่รู้รส
  • ริมฝีปากแห้ง มุมปากแตก
  • มีกลิ่นปาก
  • พูด เคี้ยว กลืนลำบาก
ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เจากภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย

นอกจากอาการหลัก ๆ ข้างต้นที่พูดถึงไปแล้วนั้น เรายังสามาถพบอาการแทรกซ้อนจากอาการปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยได้ ดังนี้

  • เกิดคราบแบคทีเรียบนผิวฟัน 
  • ฟันผุ
  • เป็นโรคเหงือกอักเสบ
  • เกิดแผลในปาก หรือเป็นร้อนใน

วิธีป้องกันตัวเองจากภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว จิบน้ำเย็น หรือเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดหรือเค็มจัด เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในปาก
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และไม่สูบบุหรี่
  • หากพบว่าตนเองมักหายใจทางปาก ควรปรับนิสัยให้หายใจทางจมูก หรือผู้ทีี่นอนกรนควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการหายใจทางปากระหว่างนอนหลับ
  • ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อเป็นภาวะปากแห้งน้ำลายน้อยควรดูแลตัวเองอย่างไร?

สำหรับวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย ก็สามารถดูแลตัวเองได้ด้วย 3 วิธีง่าย ๆ ดังนี้

ปรับพฤติกรรม

  • ทำความสะอาดของช่องปาก ด้วยการแปรงฟันแบบ 2-2-2* และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง
  • ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งส่งผลให้ปากแห้งกว่าเดิม

กระตุ้นการสร้างน้ำลาย

  • เคี้ยวหมากฝรั่งที่ ‘ไม่มีน้ำตาล’ จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำลาย
    **ข้อควรระวัง : อาจปวดกราม/ปวดหัวจากการเคี้ยว หรือแพ้ส่วนผสมบางชนิดในหมากฝรั่ง
  • กินของเปรี้ยว รสเปรี้ยวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายมากขึ้น
    **ข้อควรระวัง : หากกินมาก ๆ ฟันอาจสึก/กร่อนได้

ทดแทนน้ำลาย

  • จิบน้ำบ่อย ๆ
    **ข้อควรระวัง : ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น จึงอาจรบกวนการนอนได้
  • ใช้น้ำลายเทียม มีหลายรูปแบบ ทั้งสเปรย์ เจล สารหล่อลื่น ฯลฯ
    **ข้อควรระวัง : อาจรู้สึกระคายเคืองในช่องปาก การรับรสเปลี่ยนไป คลื่นไส้ ท้องเสีย ฯลฯ แต่มักพบได้น้อย

* 2 แรก คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (อย่างน้อย) วันละ 2 ครั้ง โดยแปรง 1 รอบตอนเช้า และอีก 1 รอบก่อนนอน, 2 ต่อมา คือ ระยะเวลาในการแปรงฟัน โดยควรแปรงฟันนานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป, และ 2 สุดท้าย คืองดกินหลังแปรงฟัน (อย่างน้อย) 2 ชั่วโมง

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะรู้เลยว่าภาวะปากแห้งน้ำลายน้อยไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หรือเป็นภาวะที่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ถ้าเรารู้จักป้องกันและรู้จักดูแลตัวเองให้เป็นก็จะดีที่สุด เพราะการไม่มีโรคคือลาภอันประเสิร์ฐ!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : wongnai.com

ภาวะกลืนลำบาก

มักจะเกิดในผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรัง (myasthenia gravis) เนื้องอกที่ก้านสมอง(brainstem tumor) ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน (embolism) เส้นเลือดในสมองแตก (cerebaral hemorrhage) head Injury ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด (mechanical deficits) เช่น การผ่าตัดเอากล่องเสียงออก การใส่ท่อหายใจนาน ๆ ผู้ป่วยที่มี ภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง (CA laynx) มะเร็งของหลอดอาหาร

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นผลที่เกิดจากสมองไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก พาร์กินสัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน และเป็นสาเหตุของการหายใจขัด (Chocking) การไอ (Coughing) และการหายใจไม่ออก(Gaging) ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงแล้วยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำขาดอาหารการสำลักอาหารเข้าปอดแล้วทำให้ เกิดการติดเชื้อ (Aspiration Pneumonia) มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรไม่ดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดในการประเมินปัญหาประเมินความสามารถทางด้านการกลืน นำไปสู่การออกแบบโปรแกรมการฝึกกลืนมีทั้งการออกกำลังแบบ active movement และแบบ passive movement

การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เป็นวิธีการรักษาหนึ่งในผู้ปวยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก ในผู้ป่วยรายหนึ่งหนึ่งอาจจะต้องอาศัยหลายวิธีในการช่วยบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ปวยกลับมาทานอาหารได้อย่างเป็นอิสระ ญาติและคนดูแลมีส่วนสำคัญในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้กลับมาทานอาหารทางปากเป็นอย่างมาก การให้กำลังใจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหาร และแข็งแรงได้ดังเดิม

สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับการบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน

1. จำนวนครั้งในการบริหารกล้ามเนื้อ : ทำท่าบริหารละ 5 -10 ครั้ง โดยทำต่อเนื่อง 3 – 4 รอบสามารถทำได้ในหลายช่วงเวลา แต่แนะนำให้ทำท่าบริหารก่อนรับประทานอาหาร

2. อุปกรณ์ช่วยในการบริหาร : อุปกรณ์ควรเป็นอุปกรณ์ที่หาได้งายไม่แพงและไม่อันตรายต่อผู้ปวยเช่นไม้พันสำลีไม้นวดลิ้นกระจกส่องฟัน เป็นต้น

3. การจัดท่าขณะบริหาร : ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งปรับเตียงให้หลังพิงประมาณ 60 องศาศีรษะตั้งตรงและผู้ป่วยตื่นรับรู้ดี

ท่าบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน

การบริหารริมฝีปากแก้ม และเพดานอ่อน (Lip, Cheek and Soft Palate exercise)

การบริหารลิ้น ( Tongue exercise)

การบริหารเส้นเสียง (Vocal cord exercise)

  • พูดหรือออกเสียงคำว่า “อ๊ะ” หรือ “อึ๊บ” ประมาณ 5-10 ครั้ง นำฝ่ามือ 2 ข้าง ดันเข้าหากัน พร้อมออกเสียงลากเสียงให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
  • ออกเสียง “อี” โยเริ่มไล่เสียงจากระดับเสียงต่ำไปหาระดับเสียงสูงที่สุด ทำช้าๆ และค้างระดับเสียงสูงที่สุดไว้นาน 10-20 วินาที ทำซ้ำ 5-10 รอบ

การบริหารขากรรไกร (Jew exercise)

การกระตุ้นการรับความรู้สึก (Sensory Stimulation)

ใช้ไม้พันสำลีขนาดใหญ่ (Cotton Swab) จุ่มในน้ำเย็นจัดประมาณ 10 วินาที จากนั้นนำมานวดกระตุ้นอย่างเร็วบริเวณผนังกั้นต่อมทอลซิลด้านหน้า (anterior faucial arch) และกดน้ำหนักลงปานกลางเลื่อนขึ้นลง 3-5 ครั้ง จากนั้นวางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางที่กล่องเสียง หรือลูกกระเดือก (Adam’s apple) แล้วให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายซึ่งจะสังเกตและรู้สึกว่ากล่องเสียงถูกยกขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยกลืนโดยทั่วไปใช้เวลาในการกลืนระยะนี้ 1 วินาที และทำซ้ำอีกด้านเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : siphhospital.com