fbpx

ปัญหาภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

รูปประกอบภาวะกลืนลำบาก
ภาวะกลืนลำบาก

มักจะเกิดในผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรัง (myasthenia gravis) เนื้องอกที่ก้านสมอง(brainstem tumor) ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน (embolism) เส้นเลือดในสมองแตก (cerebaral hemorrhage) head Injury ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด (mechanical deficits) เช่น การผ่าตัดเอากล่องเสียงออก การใส่ท่อหายใจนาน ๆ ผู้ป่วยที่มี ภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง (CA laynx) มะเร็งของหลอดอาหาร

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นผลที่เกิดจากสมองไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก พาร์กินสัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน และเป็นสาเหตุของการหายใจขัด (Chocking) การไอ (Coughing) และการหายใจไม่ออก(Gaging) ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงแล้วยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำขาดอาหารการสำลักอาหารเข้าปอดแล้วทำให้ เกิดการติดเชื้อ (Aspiration Pneumonia) มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรไม่ดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดในการประเมินปัญหาประเมินความสามารถทางด้านการกลืน นำไปสู่การออกแบบโปรแกรมการฝึกกลืนมีทั้งการออกกำลังแบบ active movement และแบบ passive movement

การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เป็นวิธีการรักษาหนึ่งในผู้ปวยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก ในผู้ป่วยรายหนึ่งหนึ่งอาจจะต้องอาศัยหลายวิธีในการช่วยบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ปวยกลับมาทานอาหารได้อย่างเป็นอิสระ ญาติและคนดูแลมีส่วนสำคัญในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้กลับมาทานอาหารทางปากเป็นอย่างมาก การให้กำลังใจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหาร และแข็งแรงได้ดังเดิม

สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับการบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน

1. จำนวนครั้งในการบริหารกล้ามเนื้อ : ทำท่าบริหารละ 5 -10 ครั้ง โดยทำต่อเนื่อง 3 – 4 รอบสามารถทำได้ในหลายช่วงเวลา แต่แนะนำให้ทำท่าบริหารก่อนรับประทานอาหาร

2. อุปกรณ์ช่วยในการบริหาร : อุปกรณ์ควรเป็นอุปกรณ์ที่หาได้งายไม่แพงและไม่อันตรายต่อผู้ปวยเช่นไม้พันสำลีไม้นวดลิ้นกระจกส่องฟัน เป็นต้น

3. การจัดท่าขณะบริหาร : ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งปรับเตียงให้หลังพิงประมาณ 60 องศาศีรษะตั้งตรงและผู้ป่วยตื่นรับรู้ดี

ท่าบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน

การบริหารริมฝีปากแก้ม และเพดานอ่อน (Lip, Cheek and Soft Palate exercise)

การบริหารลิ้น ( Tongue exercise)

การบริหารเส้นเสียง (Vocal cord exercise)

  • พูดหรือออกเสียงคำว่า “อ๊ะ” หรือ “อึ๊บ” ประมาณ 5-10 ครั้ง นำฝ่ามือ 2 ข้าง ดันเข้าหากัน พร้อมออกเสียงลากเสียงให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
  • ออกเสียง “อี” โยเริ่มไล่เสียงจากระดับเสียงต่ำไปหาระดับเสียงสูงที่สุด ทำช้าๆ และค้างระดับเสียงสูงที่สุดไว้นาน 10-20 วินาที ทำซ้ำ 5-10 รอบ

การบริหารขากรรไกร (Jew exercise)

การกระตุ้นการรับความรู้สึก (Sensory Stimulation)

ใช้ไม้พันสำลีขนาดใหญ่ (Cotton Swab) จุ่มในน้ำเย็นจัดประมาณ 10 วินาที จากนั้นนำมานวดกระตุ้นอย่างเร็วบริเวณผนังกั้นต่อมทอลซิลด้านหน้า (anterior faucial arch) และกดน้ำหนักลงปานกลางเลื่อนขึ้นลง 3-5 ครั้ง จากนั้นวางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางที่กล่องเสียง หรือลูกกระเดือก (Adam’s apple) แล้วให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายซึ่งจะสังเกตและรู้สึกว่ากล่องเสียงถูกยกขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยกลืนโดยทั่วไปใช้เวลาในการกลืนระยะนี้ 1 วินาที และทำซ้ำอีกด้านเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : siphhospital.com

ข่าวสารอื่นๆ

“วุ้นชุ่มปาก”โครงการพระราชดําริ ในหลวง ร.๙

โครงการพระราชดําริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙
เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมน้ําลายเทียมชนิดเจล สําหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ําลายน้อย (วุ้นชุ่มปาก)

ทำความรู้จักกับ เจลลี่พระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระเมตตา สนับสนุนงานวิจัยของมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงเข้าพระทัยผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวการกลืน ทั้งยังทรงเป็นห่วงว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ปัญหาภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

รูปประกอบภาวะกลืนลำบาก
ภาวะกลืนลำบาก

มักจะเกิดในผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรัง (myasthenia gravis) เนื้องอกที่ก้านสมอง(brainstem tumor) ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน (embolism) เส้นเลือดในสมองแตก (cerebaral hemorrhage) head Injury ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด (mechanical deficits) เช่น การผ่าตัดเอากล่องเสียงออก การใส่ท่อหายใจนาน ๆ ผู้ป่วยที่มี ภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง (CA laynx) มะเร็งของหลอดอาหาร

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นผลที่เกิดจากสมองไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก พาร์กินสัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน และเป็นสาเหตุของการหายใจขัด (Chocking) การไอ (Coughing) และการหายใจไม่ออก(Gaging) ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงแล้วยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำขาดอาหารการสำลักอาหารเข้าปอดแล้วทำให้ เกิดการติดเชื้อ (Aspiration Pneumonia) มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรไม่ดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดในการประเมินปัญหาประเมินความสามารถทางด้านการกลืน นำไปสู่การออกแบบโปรแกรมการฝึกกลืนมีทั้งการออกกำลังแบบ active movement และแบบ passive movement

การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เป็นวิธีการรักษาหนึ่งในผู้ปวยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก ในผู้ป่วยรายหนึ่งหนึ่งอาจจะต้องอาศัยหลายวิธีในการช่วยบำบัดฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ปวยกลับมาทานอาหารได้อย่างเป็นอิสระ ญาติและคนดูแลมีส่วนสำคัญในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้กลับมาทานอาหารทางปากเป็นอย่างมาก การให้กำลังใจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหาร และแข็งแรงได้ดังเดิม

สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับการบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน

1. จำนวนครั้งในการบริหารกล้ามเนื้อ : ทำท่าบริหารละ 5 -10 ครั้ง โดยทำต่อเนื่อง 3 – 4 รอบสามารถทำได้ในหลายช่วงเวลา แต่แนะนำให้ทำท่าบริหารก่อนรับประทานอาหาร

2. อุปกรณ์ช่วยในการบริหาร : อุปกรณ์ควรเป็นอุปกรณ์ที่หาได้งายไม่แพงและไม่อันตรายต่อผู้ปวยเช่นไม้พันสำลีไม้นวดลิ้นกระจกส่องฟัน เป็นต้น

3. การจัดท่าขณะบริหาร : ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งปรับเตียงให้หลังพิงประมาณ 60 องศาศีรษะตั้งตรงและผู้ป่วยตื่นรับรู้ดี

ท่าบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน

การบริหารริมฝีปากแก้ม และเพดานอ่อน (Lip, Cheek and Soft Palate exercise)

การบริหารลิ้น ( Tongue exercise)

การบริหารเส้นเสียง (Vocal cord exercise)

  • พูดหรือออกเสียงคำว่า “อ๊ะ” หรือ “อึ๊บ” ประมาณ 5-10 ครั้ง นำฝ่ามือ 2 ข้าง ดันเข้าหากัน พร้อมออกเสียงลากเสียงให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
  • ออกเสียง “อี” โยเริ่มไล่เสียงจากระดับเสียงต่ำไปหาระดับเสียงสูงที่สุด ทำช้าๆ และค้างระดับเสียงสูงที่สุดไว้นาน 10-20 วินาที ทำซ้ำ 5-10 รอบ

การบริหารขากรรไกร (Jew exercise)

การกระตุ้นการรับความรู้สึก (Sensory Stimulation)

ใช้ไม้พันสำลีขนาดใหญ่ (Cotton Swab) จุ่มในน้ำเย็นจัดประมาณ 10 วินาที จากนั้นนำมานวดกระตุ้นอย่างเร็วบริเวณผนังกั้นต่อมทอลซิลด้านหน้า (anterior faucial arch) และกดน้ำหนักลงปานกลางเลื่อนขึ้นลง 3-5 ครั้ง จากนั้นวางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางที่กล่องเสียง หรือลูกกระเดือก (Adam’s apple) แล้วให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายซึ่งจะสังเกตและรู้สึกว่ากล่องเสียงถูกยกขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยกลืนโดยทั่วไปใช้เวลาในการกลืนระยะนี้ 1 วินาที และทำซ้ำอีกด้านเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : siphhospital.com

ข่าวสารอื่นๆ

“วุ้นชุ่มปาก”โครงการพระราชดําริ ในหลวง ร.๙

โครงการพระราชดําริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙
เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมน้ําลายเทียมชนิดเจล สําหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ําลายน้อย (วุ้นชุ่มปาก)

ทำความรู้จักกับ เจลลี่พระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระเมตตา สนับสนุนงานวิจัยของมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงเข้าพระทัยผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวการกลืน ทั้งยังทรงเป็นห่วงว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ